หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปโทษจากการทำผิด พรบ. คอมพิวเตอร์ แบบสั้น ๆ เข้าใจง่ายครับ.....


ฐานความผิด
โทษจำคุก
โทษปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบไม่เกิน 6 เดือนไม่เกิน 10,000 บาท
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบไม่เกิน 1 ปีไม่เกิน 20,000 บาท
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบไม่เกิน 2 ปีไม่เกิน 40,000 บาท
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบไม่เกิน 3 ปีไม่เกิน 60,000 บาท
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบไม่เกิน 5 ปีไม่เกิน 100,000 บาท
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติไม่เกิน 5 ปีไม่เกิน 100,000 บาท
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail)ไม่มีไม่เกิน 100,000 บาท
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดไม่เกิน 1 ปีไม่เกิน 20,000 บาท
การกระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน 10 ปี
3 ปีถึง 15 ปี
10 ปีถึง 20 ปี

และไม่เกิน 200,000 บาท
และ60,000-300,000 บาท
ไม่มี
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม)ไม่เกิน 5 ปีไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลไม่เกิน 3 ปีไม่เกิน 60,000 บาท

มารู้จักกับ CPU ตัวใหม่ของค่าย Intel


 สำหรับในวันนี้ ก็จะเป็นรายงานผลการทดสอบ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลของแพลตฟอร์ม Intel Sandy Bridge กัน
clip 11 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
นับตั้งแต่วันที่อินเทลได้เปิดตัว Core Microarctecture จนถึงทุกวันนี้ ก็เรียกได้ว่า Sandy Bridge นั้นถือได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมในยุคที่สอง ของอินเทล Core i series ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ จะเริ่มมีการพอร์ตซีพียูทั้ง i3 i5 i7 ลงมาเป็นซอกเก็ต 1155 ทั้งหมด ผิดกับที่ในยุคที่ Core i ออกมาใหม่ๆในตอนนั้นยังคงมี 1366 สำหรับ Core i7 รุ่นแรกๆ และ 1156 สำหรับรุ่นเล็ก
clip 3 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
Intel Sandy Bridge นั้นถือเป็นการพัฒนาสถาปัตยกรรมในจังหวะ Tock ซึ่งจะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ถือกำเหนิด Core Microarchiture โดย Sandy Bridge นั้นจะยังคงใช้การผลิตในขนาด 32 นาโนเมตร ตามสเต็ปเดิมๆ (ให้สังเกตดูรูปครับ)
เพื่อให้เกิดการเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ผมจึงจะขอยกเอา Line up ของซีพียูในแต่ละรุ่น ในแพลตฟอร์มของ Sandy Bridge มาให้ได้ชมกันแบบจะๆ ชัดๆกันไปก่อนเป็นอันดับแรกเลยครับ
Sandy Bridge Desktop CPU Comparison

Base FrequencyL3 CacheCores/ThreadsMax Single Core TurboIntel HD Graphics Frequency/Max TurboUnlockedTDP
Intel Core i7 2600K3.4GHz8MB4 / 83.8GHz850 / 1350MHzY95W
Intel Core i7 26003.4GHz8MB4 / 83.8GHz850 / 1350MHzN95W
Intel Core i5 2500K3.3GHz6MB4 / 43.7GHz850 / 1100MHzY95W
Intel Core i5 25003.3GHz6MB4 / 43.7GHz850 / 1100MHzN95W
Intel Core i5 24003.1GHz6MB4 / 43.4GHz850 / 1100MHzN95W
Intel Core i3 21203.3GHz3MB2 / 4N/A850 / 1100MHzN65W
Intel Core i3 21003.1GHz3MB2 / 4N/A850 / 1100MHzN65W
name The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
สำหรับ Core i ในเจเนอร์เรชั่นใหม่ หรือ Sandy Bridge นี้นั้น ก็ง่ายๆครับไม่มีอะไรยากตามตาราง คือเรื่องของการเรียกชื่อ ที่จังยังมีการใช้ชื่อ Core i3/5/7 โดยจะเพิ่มชื่อเลข 2 เข้ามา เป็นการสื่อว่า Generation ที่สอง และในส่วนของ Suffix ที่นอกจากจะทีรหัส K ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดีกับซีพียูที่มีการ Unlock หรือ ปลดล็อคตัวคูณมาแล้ว ยังจะมีรหัส S ที่เป็นรุ่นประหยัดไฟ และรุ่น T ประหยัดไฟพิเศษ (TDP 35watt)
p67 blockdiagram 720x623 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
แพ ลตฟอร์มใหม่จากอินเทลนั้น สำหรับซอกเก็ตใหม่ 1155 มาพร้อมกับชิปเซ็ตอินเทลตระกูล 6 ที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่อินเทล นำเอา Northbridge เข้าไปรวมในซีพียูอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะแพลตฟอร์ม Intel 6 series นั้นจะเป็นแพลตฟอร์มชิปเดี่ยวโดยสมบูรณ์ โดยในรูปด้านบนจะเป็น Block Diagram ของบอร์ดที่ใช้ชิป P67 ก็จะแสดงให้เห็นชัดเจนครับว่าชิปเซ็ต P67 นั้นจะมีหน้าที่เพียงแค่ควบคุมการทำงานของระบบบัสสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่นฮาร์ดไดร์ฟและ PCI E ในส่วนที่เป็น expansion slot จริงๆ ที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นเมมโมรี หรือ PCIE 2.0 สำหรับกราฟฟิคการ์ด ตัวซีพียูก็จะเป็นตัวจัดการเองทั้งหมด
และ สำหรับการใช้งานกราฟฟิคแบบ Integrated Intel HD Graphics ใน Sandy Bridge นั้น อินเทลก็ยังคงให้ใช้ชื่อรหัส “H” สำหรับชิปเซ็ตที่จะนำมาทำงานร่วมกับกราฟฟิคแบบอินติเกรตในตัวซีพียู แทนที่จะเป็น P67 แบบในภาพกล่าวคือบอร์ด H67 นั้นก็จะมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อจอ อย่าง VGA หรือ Digital HDMI / DVI มาให้ในตัวเมนบอร์ดด้วยเลยนั้นเองครับ

Intel Ring Bus

ringbus The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
การเปลี่ยนแปลงจุดหนึ่งของ Sandy Bridge นั้นก็คือ การที่ Sandy Bridge นั้่นมีการรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิค เข้ามารวมในชุด DIE เดียวกันของตัวซีพียู ดังนั้น และโครงสร้างของ Memory Controller แบบใหม่ รวมไปถึง Level 3 cache ที่ทำงานโดยขึ้นตรงกับตัวซีพียู จึงทำให้ใน Sandy Bridge นั้น จะไม่มี Uncore Clock อีกต่อไป L3 cache นั้นจะทำงานโดยขึ้นกับซีพียูทั้ง 4 คอร์โดยตรง และตรงนี้จะสังเกตจากรูปได้ว่า Ring bus นั้นก็คือ การเชื่อมต่อความเร็วสูงภายในตัว Core DIE ที่จะเชื่อมเอา LLC (Last Cache Level) เข้ากับองค์ประกอบทั้งหมดของระบบอย่างเป็นเอกภาพกลมกลืน ตั้งแต่ซีพียูทั้งสี่คอร์ กราฟฟิค และชุดควบคุมระบบ (บัสความเร็วสูงภายนอกซีพียู เช่น PCIE)
นั้นหมายถึง LLC ในตัวชิปชุดนี้นั้น จะทำงานด้วยความเร็ว(ความถี่) เท่าเทียมกับตัว CPU Core ทำให้ความเร็วในการทำงานและเข้าถึงข้อมูลนั้นเร็วกว่าการเชื่อมต่อ L3 Cache ในสถาปัตยกรรม Nehalem แบบเดิม ซึ่งจำเป็นต้องใช้กลุ่มของสายตัวนำขนาดเล็กๆในแกนกลางมากมายเพื่อเชื่อมต่อ LLC กล่าวคือ องค์ประกอบทั้งหลาย บน DIE ชุดนี้ ไล่ตั้งแต่ CPU Core ทั้งสี่แกน ตัวประมวลผลกราฟฟิค และส่วนเชื่อมต่อบัสความเร็วสูงอื่นๆ (ชิป North-Bridge เก่าที่ถูกรวมไว้ในตัวซีพียู) จะสามารถเข้ามาดึงข้อมูลไปจาก Level 3 Cache ได้อย่างรวดเร็ว โดยตรงนี้ ทางอินเทลได้ระบุไว้ว่า Ring Bus นั้นจะเลือกเอา path ที่สั้นที่สุดในการติดต่อหาข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเราก็ต้องมาดูจากผลการทดสอบกันครับว่าการปรับปรุงทั้งหลายทั้งปวงนี้ จะทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพมากเพียงใด
โดยใน Sandy Bridge นี้ ตัวซีพียู นั้นจะมีการฝังรวมเอา Memory Controller ชนิด Dual Channel DDR3-1333MHZ เช่นเดิมครับ

clip 5 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
เราได้เห็นพัฒนาการของเทคโนโลยี “Turbo boost” ตั้งแต่ครั้งที่ Core i7 ซีรียส์ 9 ในซอกเก็ต 1366 เปิดตัวมา ครั้งนั้นผมจำได้ว่ามันเป็นอะไรที่ธรรมดาๆมากครับ แค่เวลาที่มีโหลดไม่ครบจำนวนหัวซีพียู ตัวคูณจะปรับเพิ่มขึ้นให้แค่ 1x และผมก็ได้เห็นพัฒนาการอีกในซีพียู Core i5 ทั้งตัว 1156 และเวอร์ชั่นโมบาย ที่เพิ่มความเร็ว Turbo ให้สูงขึ้นจนน่าตกใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูใน Core i รุ่นก่อนหน้านี้นั้น จะเป็นการเพิ่มความเร็วที่อิงมาจากค่า TDP (Thermal Design Power)
แต่ใน Sandy Bridge นั้น การเพิ่มความเร็ว Turbo boost นั้นจะสามารถทำการเพิ่มความเร็วได้ถึง 4 เสต็ป (ซึ่งก็ดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกใหม่) หากสงสัยว่า 4 step เป็นอย่างไร ก็ลองสังเกตดูที่รูปด้านบนเอาครับ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูจาก Turbo boost นั้นจะไม่ใช่การอิงจากความสามารถจาก TDP อีกต่อไป แต่จะเป็นการอิงจากความ อุณหภูมิ แทน กล่าวคือ หากอากาศเย็นๆ ระบบระบายความร้อนดีดี ซีพียู Sandy Bridge ก็อาจจะสามารถทำงานได้ที่ความเร็วที่สูงกว่าค่า TDP ที่โรงงานกำหนดมาให้ได้นั้นเอง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ ก็กำลังรอการพิสูจน์ จากบททดสอบกันต่อไปครับ
clip 8 resize The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ในด้านของความสามารถของ Intel HD Graphics ภายในตัวซีพียูนั้น ก็ได้มีการปรับปรุงความสามารถเพิ่มขึ้นในหลายๆด้าน ตั้งแต่การรองรับ DIrect X 10.1 , SM4.1 รวมไปถึงความสามารถในการปรับความเร็ว (Dynamic Frequency Scaling) และที่สำคัญคือเทคโนโลยี Turbo boost นั้น ได้ถูกนำมาประยุคใช้ กับตัว Intel HD Graphics ภายในซีพียูตัวนี้แล้วด้วยครับ โดยตัว Intel HD Graphics จะมี 2รุ่นคือ Intel HD Graphics 2000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า S ,T และรุ่นที่ไม่มีรหัสตัวอักษรต่อท้าย และ Intel HD Graphics 3000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า K ซึ่งถือเป็นรุ่นสูงสุดของซีพียูซีรีย์นี้ครับ

————————————————–
.

CPU Package and Bundle
dsc 0205 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หน้าตากล่อง Retail Box ของ Core i7 และ Core i5 ที่ทางอินเทลให้มาด้วยกับชุด KIT เพื่อมาพับให้ชมหน้าตากล่องแบบเต็มๆ
dsc 02161 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ทั้ง Core i7 2600K และ Core i5 2500k จะแถมพัดลมระบายความร้อนหน้าตาคุ้นเคยมาให้ด้วยครับ
dsc 02091 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ด้านล่างฐานแกนทองแดงพร้อม Thermal Pad มาด้วยครับ ส่วนการติดตั้งก็แสนง่ายกันเช่นเคยครับ
dsc 0165 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หน้าตาชัดๆของ Core i7 2600K ตัว Engineering Sample
dsc 0177 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ตามด้วยหน้าตาชัดๆของ Core i5 2500K ตัว Engineer Sample
dsc 0169 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ซึ่งด้านหลังของซีพียูทั้งสองรุ่นนี้จะเหมือนกันดังรูปเลยครับ

CPU Comparison
dsc 0150 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
เปรียบ เทียบขนาดกันจะๆกับ ซีพียูที่ใช้ LGA1156 รุ่นก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่าขนาดมิติต่างๆจะเท่ากัน ต่างกันที่ตำแหน่งเขี้ยวล็อคซีพียูเพียงเท่านั้น
dsc 0158 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
พลิก ชมด้านหลังกันบ้าง จะเห็นได้ว่า Core i7 2600K และ Core i5 2500K ที่เราได้รับมาคู่กันเพื่อทำการทดสอบในคราวนี้ จะมีตำแหน่งชิปต่างๆเหมือนกันทั้งหมดครับ แต่เมื่อเทียบกับ LGA1156 ก็จะเห็นว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเช่นกันครับ
dsc 0244 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หน้าตากล่องของซิงค์สำหรับซีพียูในตระกูล K Series ที่คาดว่าน่าจะเป็นการขายแยกต่างหากออกจากตัวซีพียูครับ
dsc 0245 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ตัวซิงค์ก็หน้าตาสวยงามกันตามภาพเลยครับ
dsc 0253 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หมุนให้ชมอีกสักมุมมอง
dsc 0254 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ด้านหลังก็เรียบสวยงามดีครับ
dsc 0249 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
จับวางนอนอีกสักรูป
dsc 0248 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ปรับ รอบพัดลมได้ด้วยครับว่าจะเอาเป็น Q (Quiet) สำหรับเพื่อความเงียบ หรือ P (Performance) เพื่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่สูงขึ้น
dsc 0252 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
โดย ซิงค์นี้จะใส่ได้ทั้ง LGA1155 และรุ่นเก่า LGA1156 เพราะว่าขนาดและระยะห่างระหว่างรูร้อยบนมาเธอร์บอร์ดของสองแพลตฟอร์มนี้จะ เท่ากันเลยครับ



————————————————–

Intel DH67BL (Bearup Lake) Mother Board Appearance

ตาม ด้วยมาชมหน้าตามาเธอร์บอร์ดที่ทางอินเทลส่งมาให้ร่วมรีวิวในครั้งนี้กันต่อ นะครับ โดยเริ่มจากบอร์ดที่ใช้ชิป H67 กันก่อนนะครับ ซึ่งนั่นก็คือบอร์ดที่มีชื่อรุ่นว่า Intel DH67BL

dsc 0188 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
มาเธอร์บอร์ดตัวนี้มาในรูปแบบ mATX ครับ
dsc 0201 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หน้าตาด้านหลังมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ครับ
dsc 0189 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ลักษณะกายภาพโดยรอบบริเวณซอคเกตซีพียูครับ
dsc 0190 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
หน่วยความจำจะเป็นแบบ DDR3 Dual Channel ใส่ได้สูงสุดที่ 4แถวครับ
dsc 0193 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
ช่อง SATA ที่จะมีทั้ง SATA2 (สีดำ) SATA3 (สีฟ้า) และ eSATA ให้เลือกใช้งานครับ
dsc 0194 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
PCI-e X16 1ช่อง PCI-e X1 2ช่อง และสุดท้าย PCI 32BIT อีก 1ช่องทาง ครบทุกความต้องการใช้งานครับ
dsc 0195 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Testedพอร์ดด้านหลังบอร์ดมากันอย่างครบครัน ไม่เว้นแม้แต่ USB 3.0 และ HDMI
dsc 0203 The Sandy Bridge Review: Intel Core i7 2600K and Core i5 2500K Tested
อุปกรณ์ที่แถมมากับบอร์ดรุ่นนี้ครับ